วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไซบีเรียน ฮัสกี้

                                                      ไซบีเรียน ฮัสกี้

ลักษณะทั่วไปของไซบีเรียน ฮัสกี้
ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky)จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขใช้งานที่มีขนาดกลาง เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและคล่องแคล่ว โครงสร้างร่างกายกระชับ, และมีขนหนาแน่นทั่วร่างกาย ใบหูตั้งตรง มีหางเป็นพวงเหมือนดั่งสุนัขป่าที่เป็นบรรพบุรุษ ไซบีเรียน ฮัสกี้ มีการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลเหมือนไม่ต้องใช้พลังในการเคลื่อนไหว ลำตัวและขาเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ แต่เดิมไซบีเรียน ฮัสกี้ถูกใช้งานในการลากเลื่อนบรรทุกของที่มีน้ำหนักไม่มากด้วยความเร็วสม่ำ เสมอในการเดินทางระยะทางไกลบนหิมะ สัดส่วนร่างกายและทรวดทรงสะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลพื้นฐานของพลัง ความรวดเร็วว่องไว และความแข็งแกร่ง ไซบีเรียน ฮัสกี้ เพศผู้ จะมีร่างกายที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อแต่ไม่ไม่ดูบึกบึนเกินไป ส่วนในเพศเมียจะดูเป็นหญิงแต่มีโครงสร้างที่แข็งแรง เมื่ออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงและพัฒนาการที่ดีไซบีเรียน ฮัสกี้จะต้องไม่มีน้ำหนักส่วนเกินที่มากเกินไป
สัดส่วนที่สำคัญ
1. จากการมองจากด้านข้างนั้น ความยาวของลำตัว วัดจากหัวไหล่ไปส่วนท้ายที่จุดสูงสุดของสะโพก จะมีความยาวมากกว่าความสูงของร่างกาย ที่วัดจากพื้นขึ้นมาถึงจุดสูงสุดของหัวไหล่ โดยสัดส่วนความยาวต่อความสูงเท่ากับ 10:9 โดยประมาณ
2. ความยาวของปลายสุดของจมูกมาถึงดั้งจมูกหรือดั้งหัก(หรือStop)จะเท่ากับ ความยาวจากดั้งจมูกไปถึงส่วนท้ายสุดของศีรษะ หรือบริเวณท้ายทอย
พฤติกรรม และ อารมณ์
บุคลิคภาพและอารมณ์ของ ไซบีเรียน ฮัสกี้ จะเป็นมิตร และอ่อนโยน แต่จะตื่นตัวและชอบเข้าสังคม ไซบีเรียน ฮัสกี้ จะไม่แสดงความหวงเจ้าของซึ่งเป็นลักษณะของสุนัขเฝ้ายาม หรือจะไม่แสดงความไม่ไว้วางใจคนแปลกหน้า หรือก้าวร้าวกับสุนัขอื่น
ส่วนนิสัยสงบเสงี่ยมและสง่างาม จะพบได้เมื่อสุนัขโตเต็มวัย ความฉลาดมีไหวพริบ, ความอ่อนโยน และความมีอารมณ์กระตือรือร้นของไซบีเรียน ฮัสกี้นั้น ทำให้เหมาะสมที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน และเพื่อการใช้งาน
ศีรษะ
บริเวณกะโหลกศีรษะ
กะโหลกศีรษะ มีขนาดปานกลาง และได้สัดส่วนกับขนาดของร่างกาย, ส่วนบนของกะโหลกจะค่อนข้างกลม และค่อย ๆ เรียวลงไปหาบริเวณช่องว่างระหว่างดวงตาทั้งสอง
ดั้งจมูกหรือดั้งหัก(หรือStop) ดั้งจมูก(หรือStop)เห็นชัดเจน
บริเวณใบหน้า
จมูก เป็นสีดำในสุนัขสีเทา น้ำตาล และดำ, เป็นสีตับ(น้ำตาลไหม้)ในสุนัขสีแดงคอปเปอร์, อาจจะเป็นสีเนื้อ(น้ำตาลอมชมพู)ในสุนัขสีขาวล้วน ส่วนจมูกที่เป็นด่างสีชมพูหรือ สโนว์โนส ไม่ถือเป็นข้อบกพร่อง
กระบอกปาก(หรือMuzzle) กระบอกปากมีความยาวและความกว้างปานกลาง, ความกว้าง ค่อย ๆ เรียวลงไปถึงปลายจมูก ไม่ใช่ตรงหรือเป็นลักษณะเหลี่ยม ส่วนด้านบนของกระบอกปากจากสันจมูกถึงปลายจมูกต้องเป็นเส้นตรง
ริมฝีปาก มีสีที่เหมาะสมและประกบแนบกันสนิท
ขากรรไกรและฟัน ประกบกันแบบ Scissor bite (ฟันบนสบกับฟันล่างโดยที่ฟันบนอยู่ด้านนอก และฟันล่างอยู่ด้านใน ทั้งฟันบนและฟันล่างต้องแนบกันสนิท)
ตาทั้งสองข้าง เป็นรูปทรงเหมือนอัลมอนด์ ดวงตาทั้งสองมีความห่างกันพอประมาณ และดวงตาทั้งสองเอียงขึ้นเล็กน้อย สีของตาจะมีทั้งสีน้ำตาลและสีฟ้า โดยจะเป็นสีเดียวกันทั้งสองข้าง หรือข้างละสี หรือมีสองสีในตาข้างเดียวก็ได้
สีหน้า ฉลาดหลักแหลม แฝงไปด้วยความเป็นมิตร มีความสนอกสนใจ กระตือรือร้น และซุกซนกำลังดี
หู มีขนาดปานกลาง, มีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม, ใบหูทั้งสองข้างตั้งอยู่ใกล้กันและตั้งอยู่บนศีรษะ, หนาและมีขนปกคลุมแน่น, ด้านหลังใบหูจะโค้งเล็กน้อย, ใบหูตั้งตรง, ส่วนปลายใบหูจะมนและตั้งขึ้น
คอ
มีความยาวปานกลาง โค้งได้รูปและตั้งเชิดขณะที่ยืน ขณะที่วิ่งเหยาะ ๆ ลำคอจะและศีรษะจะยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย
ลำตัว
หลัง เป็นเส้นตรงและแข็งแรง พร้อมด้วยมีเส้นหลังที่เป็นระดับเรียบเสมอกันจากส่วนที่สูงที่สุดของหัวไหล่ ไปถึงส่วนที่สูงที่สุดของสะโพก มีความยาวของหลังปานกลางตามสัดส่วนที่เหมาะสม
ส่วนกลางของลำตัว ตึงกระชับและลาด, แคบกว่าช่วงซี่โครง, และมีเอวสะโอดสะอง
ส่วนบนสุดของสะโพก ลาดลงจากจากจุดต่อกับกระดูกสันหลัง แต่ไม่ลาดชันจนลงมาดันส่วนของด้านหลังของขาหลัง
ช่วงอก ลึกและแข็งแรง แต่ไม่กว้างจนเกินไป, ส่วนที่ลึกที่สุดของอกจะอยู่ด้านหลังและอยู่ในระดับเดียวกับข้อศอก ซี่โครงมีความกว้างพอสมควร เมื่อวัดจากกระดูกสันหลัง แต่ไม่ควรแคบเกินไป เพื่อการเคลื่อนไหวที่ดี
หาง
หางมีขนแน่นเป็นพวงเหมือนหางสุนัขจิ้งจอก ตำแหน่งของหางอยู่ต่ำกว่าระดับเส้นหลังเล็กน้อย และ หางมักจะม้วนขึ้นเป็นลักษณะโค้งคล้าย ๆ เคียวในเวลาที่มีความสนใจหรือตื่นตัวอยู่ ขณะที่หางสูงขึ้น หางจะต้องไม่โค้งไปทางด้านใดด้านหนึ่งของลำตัว หรือหักราบไปกับหลัง หางจะลาดลงเป็นปกติเวลาสุนัขอยู่ในอารมณ์สงบ ขนหางมีความยาวปานกลาง และมีความยาวประมาณเดียวกับความยาวของขนบริเวณด้านบน, ด้านข้างลำตัว และบริเวณบั้นท้าย และมีลักษณะเหมือนพู่กัน
ส่วนขาทั้ง 4
ท่อนหน้า (FOREQUARTERS) : เมื่อมองจากด้านหน้าในขณะยืน ขาหน้าจะมีระยะห่างกันพอประมาณขนานกันและเหยียดตรง กระดูกแข็งแรงมั่นคง แต่ไม่เทอะทะ ความยาวของขาจากตำแหน่งข้อศอกถึงพื้นจะมีความยาวกว่าความยาวจากข้อศอกขึ้นไป ถึงวิทเทอร์เล็กน้อย นิ้วติ่งขาหน้าอาจตัดออกได้
หัวไหล่และขาหน้า (Shoulders and Arm) : กระดูกหัวไหล่ (Shoulder Blade) เอียงไปด้านหลังทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้น, Upper arm เอียงมาด้านหลังจาก Point of Shoulder (หัวไหล่) และไม่ตั้งฉากกับพื้น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดหัวไหล่ให้ติดกับซี่โครงล้วนแล้วแต่มั่นคงและเห็น กล้ามเนื้อชัดเจน
ข้อศอก (Elbows) : ชิดกับลำตัวและไม่หันเข้าหรือหันออกจากลำตัว
ข้อต่อบริเวณข้อขาหน้า (Pastern joint) : แข็งแรงแต่มีความยืดหยุ่น
ข้อขาหน้า (Pastern) : มองจากด้านข้างจะเอียงเล็กน้อย
ท่อนหลัง (Hindquarters) : เมื่อมองจากด้านหลังในขณะยืน ขาหลังทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณและขนานกัน นิ้วติ้งหลังต้องตัดออก
ต้นขา (Upper thigh) : มีกล้ามเนื้อ และแข็งแรง
สะบ้าหรือเข่า (Stifle) : โค้งได้รูป
ข้อขาหลัง (Hock joint) : มีมุมชัดเจนและสั้น
เท้า (Feet) มีลักษณะเป็นรูปไข่แต่ไม่ยาวจนเกินไป อุ้งเท้ามีขนาดปานกลาง, กระชับ และมีขนหนาแน่นระหว่างนิ้วเท้าและฝ่าเท้า ฝ่าเท้าเหนียวและมีขนปกคลุมแน่นหนา อุ้งเท้าไม่หันเข้าหรือหันออกในขณะที่สุนัขยืนตามธรรมชาติ
การวิ่ง/การเคลื่อนไหว (Movement and Gait)
ลักษณะการวิ่งของไซบีเรียน ฮัสกี้นั้นนุ่มนวลและดูเหมือนไม่ใช้กำลังในการเคลื่อนไหว ย่างก้าวปราดเปรียวและเบา, และเวลาอยู่ในสนามประกวดสามารถปล่อยสายจูงยาวในขณะวิ่งในความเร็วปกติ โชว์ย่างก้าวที่สวยงามทั้งขาหน้าและขาหลัง เมื่อมองจากด้านหน้าไปด้านหลังในเวลาเดินขาจะไม่อยู่ในเส้นสมมติเดียวกัน (Single Track) แต่เมื่อเพิ่มความเร็วขึ้น ขาจะค่อย ๆ เบน (Toe in) เข้ามาด้านในจนกระทั่งรอยเท้ามาอยู่บนเส้นสมมติตามยาวด้านล่างของกลางลำตัว เมื่อรอยเท้าเบนเข้าหากัน ขาหน้าและขาหลังจะต้องเคลื่อนไหวตรงไปข้างหน้าโดยที่ข้อศอกและสะบ้าจะไม่หัน เข้าด้านในหรือหันออกด้านนอก ขาหลังแต่ละข้างจะเคลื่อนไหวลงไปในแนวเดียวกับขาหน้าด้านเดียวกัน ในขณะที่วิ่งนั้นเส้นหลังจะนิ่งและเป็นเส้นตรง
ขน (Coat)
เส้นขน(Hair) : ขนของไซบีเรียน ฮัสกี้เป็นขน 2 ชั้นและมีความยาวปานกลาง มีลักษณะหนาแน่นแต่ไม่ยาวเกินไปจนปิดบังส่วนต่าง ๆ ของตัวสุนัข ขนชั้นในนุ่มและหนาและมีความยาวพอที่จะพยุงขนชั้นนอก ขนชั้นนอกเหยียดตรงบางช่วงจะแนบไปกับลำตัว ไม่สากหยาบหรือเหยียดยาวพุ่งออกมาจากลำตัว ในช่วงที่ผลัดขนนั้นขนชั้นในจะหลุดร่วงออกไปนั้นเป็นเรื่องปกติ อนุญาตให้เล็มตัดขนบริเวณหนวดและระหว่างนิ้วเท้าและรอบ ๆ เท้าเพื่อให้ขนแลดูเรียบร้อยได้เท่านั้น การตัดขนบริเวณอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้และควรถูกลงโทษ (ในกรณีที่ลงประกวด)
สี (Color)
มีได้ทุกสีตั้งแต่ดำไปจนขาวทั้งตัว ตลอดจนมีความหลากหลายของมาร์คกิ้งบริเวณศีรษะ รวมถึงลวดลายบนลำตัว ซึ่งจะไม่พบในสุนัขสายพันธุ์อื่น
ขนาดและน้ำหนัก (Size and Weight)
ความสูงที่วิทเทอร์ : เพศผู้ 21-23.5 นิ้ว (53.5-60 ซม.) เพศเมีย 20-22 นิ้ว (50.5-56 ซม.)
น้ำหนัก : เพศผู้ 45 – 60 ปอนด์ (20.5-28 กก.) เพศเมีย 35-50 ปอนด์ (15.5-23 กก.)
น้ำหนักจะเป็นสัดเป็นส่วนกับส่วนสูง มาตราวัดด้านบนเป็นการวัดจากส่วนสูงและน้ำหนักสูงสุด หรือต่ำสุด น้ำหนักที่มากเกินไปหรือกระดูกที่ใหญ่เกินไปควรถูกลงโทษ (ในกรณีที่ลงประกวด)
ลักษณะโดยสังเขป (Summary)
ลักษณะทางสายพันธุ์ที่สำคัญที่สุดของไซบีเรียน ฮัสกี้คือ มีขนาดกลาง, กระดูกขนาดพอประมาณ, สัดส่วนสมดุล, เคลื่อนไหวอิสระและเบา, ขนถูกระเบียบ, หัวและหูถูกต้อง, และมีอารมณ์ที่ดี ลักษณะอื่น ๆ เช่นกระดูกที่ใหญ่หรือน้ำหนักที่มากเกินไป การวิ่งที่เทอะทะ ขนที่ยาว หรือขนที่หยาบเกินไปถือว่าไม่ถูกต้อง ไซบีเรียน ฮัสกี้จะไม่ดูหนักและเทอะทะเกินไป เพราะไซบีเรียน ฮัสกี้จะดูเบาและบางดังสัตว์ที่ใช้ในการแข่งวิ่ง โดยที่จะดูแข็งแรงอดทนในทั้ง 2 เพศ นอกเหนือไปจากลักษณะผิดที่ระบุไว้ ลักษณะทางโครงสร้างที่ไม่ถูกต้องของ All Breed ก็ไม่ถูกต้องกับไซบีเรียน ฮัสกี้ด้วยถึงแม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้ในนี้
ลักษณะผิด (Faults)
ลักษณะต่อไปนี้ถือว่าเป็นข้อบกพร่องของสายพันธุ์
- กะโหลก : ใหญ่เทอะทะ, เล็กแหลมเกินไป
- ดั้งจมูกหรือดั้งหัก (Stop): เห็นไม่ชัดเจน
- กระบอกปาก : ใหญ่เกินไปหรือแหลมเกินไป, กระบอกปากสั้นหรือยาวเกินไป
- ขากรรไกร/ฟัน: การสบอย่างอื่นที่ไม่ใช่ Scissor bite
- ตา : ตาเฉียงเอียงเกินไป, อยู่ใกล้กันเกินไป
- หู : ใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของศีรษะ, หูกาง หรือไม่ตั้ง
- คอ : สั้นและหนาเกินไป, หรือยาวเกินไป
- หลัง : หลังอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเส้นหลังลาด
- อก : อกกว้างเกินไป (จนมีลักษณะเหมือนถัง) หรือซี่โครงแคบเกินไป
- หาง : หางม้วนจนติดหลัง, ตำแหน่งหางอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
- ไหล่ : ไหล่ตรง หรือไม่แข็งแรง
- ท่อนหน้า : ข้อขาหน้าไม่แข็งแรง, กระดูกใหญ่เกินไป หน้าอกแคบหรือกว้างเกินไป
- ท่อนหลัง : ข้อขาหลังตรง, ขาหลังแบะ, ระยะห่างระหว่างขาหลังกว้างหรือแคบเกินไป
- เท้า : นิ้วเท้าไม่แข็งแรง, อุ้งเท้าใหญ่และปวกเปียก, อุ้งเท้าเล็ก, เท้าเปิดออกหรือเข้าหาตัว
- การเคลื่อนไหว : การเคลื่อนไหวที่สั้นและซอยถี่, ขาไขว้หากัน
- ขน : ขนที่ยาวหยาบเกินไป หรือขนที่นิ่มจนทำให้ขนล้ม การตัดแต่งขนเป็นสิ่งต้องห้ามยกเว้นจากที่อนุญาตไว้ที่ด้านบน
ข้อบกพร่องร้ายแรง (ELIMINATING FAULTS)
ก้าวร้าว หรือขี้กลัว
สุนัขเพศผู้ที่มีขนาดเกิน 23.5 นิ้ว (60 เซนติเมตร) และสุนัขเพศเมียที่มีขนาดเกินกว่า 22 นิ้ว (26 เซนติเมตร)
สุนัขตัวใดก็ตามที่แสดงความผิดปกติทางด้านร่างกาย หรือทางพฤติกรรมจะถูกตัดสิทธิ์ทันที
หมายเหตุ : สุนัขเพศผู้ต้องมีอัณฑะทั้ง 2 ใบลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ

ปอมเมอเรเนียน


                                                      ปอมเมอเรเนียน
หากพูดถึง สุนัข ตัวเล็กๆ ขนฟูๆ หางเป็นพวง จมูกแหลมๆ ตาแป๋วเป็นประกาย แน่นอนว่าสุนัขที่ว่านี้คือพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน  ที่ไม่ว่าใครเห็นเป็นต้องขอจับ ขอสัมผัส ความน่ารักกันใกล้ๆ แต่ที่เห็นน่ารัก ดูบอบบางเหมือนคุณหนูแบบนี้ แท้จริงแล้ว ปอมเมอเรเนียน มีต้นตระกูลมาจาก สุนัข ลากเลื่อนของประเทศไอซ์แลนด์และเลปแลนด์ บริเวณตอนเหนือของทวีปยุโรปโน่นแน่ะ
          ปอมเมอเรเนียน เป็น สุนัข ที่ชอบเอาใจใส่กับสิ่งภายนอก เฉลียวฉลาด เหมาะสำหรับเลี้ยงเป็นเพื่อนพอๆ กับเลี้ยงเพื่อการแข่งขัน ชื่อของ ปอมเมอเรเนียน มาจาก Pomeranian ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์และประเทศเยอรมันตะวันออก เหนือแถบทะเลบอลติก โดยแต่เดิมนั้น ปอมเมอเรเนียน เป็น สุนัข พันธุ์ใหญ่ที่ใช้ลากเลื่อนและเฝ้าฝูงแกะ มีรายงานว่า ปอมเมอเรเนียน ที่ถูกนำเข้ามาในอังกฤษตัวแรกมีน้ำหนักถึง 30 ปอนด์ แต่ต่อมาได้มีผู้ผสมพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคู่ใจแทนการใช้งาน

          ทั้งนี้ ปอมเมอเรเนียน เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เมื่อสมเด็จพระราชินี วิคเตอเรีย แห่งอังกฤษ ทรงไปพบ สุนัข พันธุ์นี้และนำกลับมาเลี้ยงในพระราชวังด้วย ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าควีนวิคตอเรียทรงโปรด สุนัข ปอมเมอเรเนียน มาก แม้กระทั่งวันที่สิ้นพระชนม์ยังทรงให้เอาเจ้า Turi สุนัข ปอมเมอเรเนียน ตัวโปรดมาไว้ข้างพระแท่นบรรทม และเจ้า Turi นี้ก็ได้นอนเฝ้าอยู่จนควีนสิ้นพระชนม์ จึงทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นผู้ที่ทำให้สาธารณชนรู้จักและนิยมเลี้ยง ปอมเมอเรเนียน ตัวเล็ก

          อย่างไรก็ตาม ปอมเมอเรเนียน ที่ถูกพัฒนาจนเล็กลงอย่างที่นิยมเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลงานการพัฒนาของนักผสมพันธุ์ สุนัข ชาวอเมริกา จึงไม่น่าแปลกใจที่ ปอมเมอเรเนียน สายพันธุ์จากอเมริกาได้รับการยอมรับให้เป็นสายพันธุ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด 

ลักษณะสายพันธุ์ สุนัข ปอมเมอเรเนียน

          ปอมเมอเรเนียน เป็น สุนัข ที่มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4-6 ปอนด์ หรือราว 1.7-2.5 กิโลกรัม ถ้านำหนักน้อยหรือมากกว่านี้ จะถือว่าไม่ได้มาตรฐานสายพันธุ์  เป็น สุนัข ที่ว่องไวปราดเปรียว มีขนชั้นในที่แน่นและนุ่ม และมีขนชั้นนอกที่หยาบกว่าชั้นใน หางสวยงามเป็นพวงขน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง หางจะขนานไปกับหลัง โดยลักษณะนิสัยพื้นฐานของ ปอมเมอเรเนียน นี้ คือ จะตื่นตัวเสมอ เห่าเก่ง  มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น อวดดี สง่างาม และขณะก้าวย่างแสดงถึงความมีชีวิตชีวา เป็นพันธุ์สมบูรณ์ทั้งรูปร่างและการเคลื่อนไหว

           ศีรษะ 
          ศีรษะจะสมดุลได้สัดส่วนกับลำตัว จมูกยาวเล็กน้อย ตรง มองเห็นชัดเจน ปลายจมูกเชิดเป็นอิสระจากริมฝีปาก การแสดงออกของใบหน้าจะสดใส ร่าเริง คล้ายใบหน้า สุนัข จิ้งจอก หรืออีกนัยหนึ่งคือใบหน้าที่ฉลาดแกมโกง เจ้าเล่ห์ กะโหลกจะปิดสนิท ด้านบนสุดของกะโหลกจะกลมเล็กน้อย แต่ไม่เป็นรูปโดมซะทีเดียว เมื่อมองจากด้านหน้าและด้านข้าง จะเห็นใบหูที่ค่อนข้างเล็ก เชิดสูงและตั้งตรงเสมอ เมื่อลากเส้นผ่านปลายจมูกไปยังตรงกลางตาไปยังปลายหูจะได้เส้นตรง นัยน์ตาเป็นสีดำ แววตาสดใสรูปร่างอัลมอนด์ ขนาดปานกลางตั้งอยู่ในตำแหน่งตัวกับกะโหลก นัยน์ตาค่อนข้างชัดเจน ขอบตาและจมูกต้องเป็นสีดำ ยกเว้น ปอมเมอเรเนียน สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน (เทา) ฟันสบกันแบบกรรไกร ถ้ามีฟันซี่ใดซี่หนึ่งไม่ตรงก็ยอมรับได้

           ลำตัว ลำคอ

          ลำคอสั้น โดยศีรษะแทบจะติดกับไหล่ ส่วนหลังนั้น ลำตัวกระชับและกะทัดรัด มีซี่โครงและช่วงอกที่ทำงานได้ดี โดยยื่นไปถึงข้อศอก หางดีเป็นพวง เป็นลักษณะเฉพาะพันธุ์ โดยจะขนานไปกับลำตัวส่วนหลัง

           ลำตัวส่วนหน้า
          ลำตัวส่วนหลังจะเป็นตัวชูให้ลำคอ และศีรษะอยู่สูง แสดงถึงความผ่าเผย ไหล่และขามีกล้ามเนื้อปานกลาง ความยาวของใบไหล่ และต้นแขนจะเท่ากัน ขาหน้าจะตรงและขนานกับความสูงจากศอกถึงตะโหนก เท่ากับความสูงจากศอกถึงพื้น ข้อเท้าตรงและแข็งแรง เท้าได้รูปหุบสนิท ไม่บิดเข้าหรือบิดออก ขณะยืนจะรับน้ำหนักตัวได้ดี อาจต้องมีการตัดนิ้วติ่ง

           ลำตัวส่วนท้าย

          มุมของลำตัวส่วนท้ายจะสมดุลกับลำตัวส่วนหน้า สะโพกสวย ต้นขามีกล้ามเนื้อปานกลาง ข้อเท้าบิดเล็กน้อย ข้อเท้าได้ฉากกับพื้น และขาจะตรงและขนานกับอีกข้าง ขอบเท้าชัดเจน เท้าหุบสนิท ไม่บิดเข้าหรือบิดออก สุนัขยืนอยู่บนนิ้วเท้าได้อย่างดี อาจต้องมีการตัดนิ้วติ่ง 

           การก้าวย่าง และเคลื่อนไหว

          ปอมเมอเรเนียน มีการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวล เป็นอิสระ สมดุลและกระฉับกระเฉง มีแรงส่งตัวไปด้านหน้าได้ดี เพราะมีแรงขับจากลำตัวส่วนท้าย ขาหลังจะเดินตามรอยขาหน้าในข้างเดียวกัน เป็นการเดินและเคลื่อนไหวที่สมดุล ขณะเคลื่อนไหวจะไม่มีการเหวี่ยงเท้าเข้าหรือออกจากลำตัว ลำตัวด้านบนยังคงได้ระดับ ซึ่งดูแล้วลักษณะทั้งหมดจะสมดุล

           ขนและสีขน
          ปอมเมอเรเนียน เป็น สุนัข ที่มีขนสองชั้น ขนชั้นในนิ่มและแน่น ขนชั้นนอกจะยาวตรงหยาบกว่า แต่จะส่องแสงแวววาว ขนชั้นในจะหนาเพื่อปกป้องลำตัวของ สุนัข โดยขนจะแน่นตั้งแต่ลำคอ ไหล่ และอก ขนชั้นนอกบริเวณไหล่ อก ค่อนข้างมาก ขนบริเวณศีรษะและขาจะน้อยและสั้นกว่าส่วนอื่น (โดยเฉพาะลำตัวและไหล่จะยาวที่สุด) ลำตัวส่วนหน้าจะมีขนปกคลุมไปจนถึงข้อเท้าหางจะมีขนชั้นนอกที่ยาว แข็ง ปกคลุม อาจต้องมีการตัดเล็มขนบ้างซึ่งยอมรับได้

          ส่วนมีสีขนของ ปอมเมอเรเนียน จะมีหลายสี หลายแบบ เช่น ดำและน้ำตาล สีผสมหรือสีทองออกส้ม สีขาว ที่มีสีอื่นร่วมบริเวณศีรษะ หรืออีกประเภทที่เรียกว่า open elasses คือจะมีสีแดง สีส้ม สีครีม สีดำ สีน้ำตาล สีเทา เป็นต้น


อาหารและการเลี้ยงดู ปอมเมอเรเนียน

          การดูแลขนของ ปอมเมอเรเนียน ต้องได้รับการแปรงขนทุกวันหรืออาทิตย์ละสองครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อที่จะให้ขนที่หนาและสวยไม่พันกัน ขนของ ปอมเมอเรเนียน ต้องการการเล็มบ้างแค่ครั้งคราว ส่วนการดูแลหูและเล็บเป็นประจำเป็นสิ่งที่แนะนำรวมกับการอาบน้ำ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรอาบน้ำให้ ปอมเมอเรเนียน บ่อยมากจนเกินไป เพราะการอาบน้ำบ่อยจะทำให้หนังและขนเแห้งจนเกินไป เนื่องจากน้ำมันที่จำเป็นถูกล้างออกไปหมด 

          นอกจากการดูแลขนแล้ว สิ่งที่สำคัญที่มากที่สุดสำหรับ สุนัข ปอมเมอเรเนียน คือการได้รับการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นอย่างดี เนื่องจาก ปอมเมอเรเนียน ง่ายต่อการสูญเสียฟันอันเนื่องมาจากปัญหาฟันผุ หรือสุขภาพเหงือกไม่ดี จึงต้องมั่นทำความสะอาดฟันให้เป็นประจำ และควรให้อาหารชนิดแห้งเพื่อลดปัญหาสุขภาพปากและฟัน


โรคและวิธีป้องกัน

          สุนัข แต่ละพันธุ์มีโรคประจำที่แตกต่างกันออกไป เช่น สุนัข พันธุ์โกลเด้น ก็มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อม สุนัข พันธุ์คอกเกอร์ สเปเนียล ก็พบปัญหาเรื่องโรคหูอักเสบ สุนัข พันธุ์พุดเดิ้ลก็มีปัญหาโรคหัวใจโต สุนัข พันธุ์ดัลเมเชี่ยนก็เจอโรคหูหนวก สุนัข พันธุ์ดัชชุน ก็มีปัญหาโรคหมอนรองกระดูก ฯลฯ ปอมเมอเรเนียน ก็มีปัญหาเหมือนกัน โดยมี 4 โรคที่ ปอมเมอเรเนียน พึงสังวรไว้ คือ

          1. โรคลูกสะบ้าเคลื่อน โรคนี้พบได้บ่อยสุด คือ มีอาการเจ็บเข่าจนต้องยกขาไม่ลง ถ้าไม่เป็นมาก ก็รักษาด้วยการกินยา แต่ถ้าเป็นมากต้องพึ่งหมอผ่าตัด  อย่างไรก็ดี โรคนี้ป้องกันได้โดยอย่าปล่อยให้ ปอมเมอเรเนียน ของเราอ้วนเกินไป และคอยดูแลไม่ให้เขาหล่นหรือโดดลงจากที่สูง ส่วนสถานที่ที่เลี้ยงนั้นไม่ควรเป็นพื้นลื่นจำพวกกระเบื้อง พื้นหินขัด,หินอ่อน หรือแกรนิต ที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ ปอมเมอเรเนียน ที่มีปัญหาลูกสะบ้าขยายพันธุ์ 

          2. โรคหลอดลมตับ เป็นอีกโรคมักพบบ่อยๆ ใน ปอมเมอเรเนียน อาการที่พบ คือ ไอแห้งๆ เสียงดังมาก ซึ่งพบบ่อยเวลาที่ตื่นเต้นหรืออากาศเย็น ดังนั้น จึงอย่าปล่อยให้มันอ้วนเกินไป และพยายามอย่าให้เขาอยู่ในที่ที่อากาศร้อนและชื้นเกินไป และที่สำคัญเวลาจูงเดินเล่นควรใช้สายจูงชนิดสายรัดอก แทนสายจูงกับปลอกคอหรือโซ่คอ

          3. ขนร่วง ปัญหาโรคขนร่วงที่พยบ่อยใน ปอมเมอเรเนียน ก็คือโรค Black Skin หรือ BSD ซึ่งทำให้ผิวหนังไม่มีขนและมีจี้ดำ เกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน เช่น โรคไทรอยด์ต่ำ,ZEMA,ไรขี้เรื้อนและเชื้อรา ซึ่งวิธีแก้ไข คือ ควรรีบพา สุนัข ที่มีปัญหาโรคผิวแห้งไปพบสัตว์แพทย์โดยเร็ว

          4. โรคหนังตาม้วนเข้า โรคนี้สามารถพบใน สุนัข ปอมเมอเรเนียน แต่ไม่พบบ่อยเหมือน สุนัข พันธุ์เชาว์-เชาว์ หรือชาร์ไป ซึ่งวิธีแก้ไขคือต้องทำการผ่าตัดโดยสัตวแพทย์